วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นิยาม 5


                                                 เพิ่มเติมสุดท้ายแล้วจ้า
ว่าด้วยด้วยเรื่อง  "นิยาม 5"
จากหนังสือ "เกิดเพราะกรรมหรือความซวย" โดยทันตแพทย์สม สุจีรา
พุทธศาสนาจำแนกกฎธรรมชาติออกเป็น 5 อย่าง เรียกว่านิยาม 5 (ความเป็นไปอันแน่นอนม กฎ) คือ
1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติ ที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่นฤดูกาล อุณหภูมิ ดินฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดของโลก และจักรวาลก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ เช่นเดียวกับกฎทางฟิสิกส์ทั้งหมด
2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ การสืบพันธุ์หรือพันธุกรรม (DNA) ก็จัดอยู่ในพีชนิยาม เช่นเดียวกับกฎทฤษฎีทางชีววิทยาทั้งหมด
3. จิตนิยาม (Psychological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต เช่น การเกิดดับของจิต การรับอารมณ์ของจิต องค์ประกอบของจิต (เจตสิก)
4. กรรมนิยาม (Moral Laws) คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง
5. ธรรมนิยาม (Causal Laws) คือกฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอลคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ เช่น กฎแห่งอนิจจัง อิทัปปัจยตา กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ว่า ได้แก่กฎธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วในจักรวาล เพียงแต่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบด้วยสัพพัญญุตญาณและนำมาเผยแผ่เท่านั้น ทรงรับรู้ เข้าใจถึงนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้งห้านี้อย่างลึกซึ้ง ทฤษฎีต่างๆที่นักวิทยาศาสตร์ก็คือความจริงแห่งนิยามเหล่านี้ เช่น ทฤษฎ๊วิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินก็มาจากพีชนิยาม กฎของนิวตันก็มาจากอุตุนิยาม แต่พระพุทธองค์เลือกที่จะตัดความรู้ทางด้านอุตุนิยามและพีชนิยามออกจากคำสั่งสอน เพราะไมใช่ทางแห่งการดับทุกข์ และไปเน้นที่กรรมนิยาม จิตนิยามและธรรมนิยาม
ในทางตรงกันข้าม ตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์พยายามสึกษาในส่วนของพีชนิยามและอุตุนิยามมาโดยตลอด สิ่งนี้เป็นจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตาม กฎทั้งห้าล้วนสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ เช่น โรคเอดส์เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ตามกฎพีชนิยาม แต่เมื่อมนุษย์เสื่อมจากศีลธรรมเพราะมีโมหะหรืออวิชชา โรคระบาดจึงเป็นผลตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดนำท่วม ฝนไม่ตก ซึ่งเป็นจากกรรมนิยามที่สะท้อนมาจากพีชนิยาม ปรากฏการณ์คลื่นสึนามิก็เป็นอุตุนิยาม แต่เมื่อมีคนเสียชีวิต เกิดความเศร้าสลด เกิดเป็นจิตนิยามที่สะท้อนมาจากอุตุนิยาม
วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญต่ออุตุนิยามและพีชนิยาม จนมองว่าเรื่องของจิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยามเป็นเรื่องไร้สาระ จนปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มหวนคิดกลับ เพราะโลภะจากจิตมนุษย์ แม้ทรัพยากรของโลกมีอยู่จำกัด แต่โลภะของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด และทำอย่างไรก็ไม่พอ วิทยาศาสตร์ไล่ตามอย่างไรก็ไม่ทัน นอกจากนั้นยังสร้างผลกระทบไปบังอุตุนิยาม เช่น เกิดสภาวะเรือนกระจก เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ลมฟ้าอากาศแปรปรวน หรือในทางพีชนิยามก็เกิดเชื้อโรคตัวใหม่ๆ ขึ้น เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อบางชนิด เช่น เชื้อหวัดนก เชื้อเอดส์ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เกิดการตัดต่อพันธุกรรม สร้างสิ่งมีชีวิตแปลกๆ ใหม่ ๆ ขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการค้นพบทางอุตุนิยามนำไปสู่การพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ การค้นพบทางพีชนิยามนำไปสู่อาวุธเชื้อโรค ในที่สุด ถ้านักวิทยาศาสตร์ไม่ใส่ใจกับจิตนิยาม โลกจะถึงแก่กาลพินาศเพราะน้ำมือมนุษย์เอง
พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตัดพีชนิยาม อุตุนิยามออกจากคำสอน เพราะไม่มีประโยชน์อันใด มีแต่จะสร้งโลภะ โทสะ โมหะ และลำพังเฉพาะจิตนิยาม ธรรมนิยาม ก็สอนกันไม่หมดแล้ว
แม้จะตัดพีชนิยาม อุตุนิยามออกจากคำสอน แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงรวมมิยามทั้งสองไว้ในนิยาม ๕ เพราะวิทยามศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับนิยาม ๕ นี้ เช่น การที่เราปวดศีรษะอาจมีสาเหตุจากนิยามใดก็ได้ ถ้าเป็นการปวดศีรษะจากการติดเชื้อในสมอง ถือเป็นพีชนิยาม หรือปวดศีรษะจากการอยู่ในสถานที่อับร้อน อากาศไม่ถ่ายเทถือเป็นอุตุนิยาม แต่ถ้าปวดศีรษะจากความกลุ้มใจ กังวลใจ ถึงจะเรียกว่าเป็นกรรมนิยาม
จะเห็นได้ว่า แม้แต่การปวดศีรษะ ต้นเหตุก็ไม่ได้มาจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเราไปเหมารวมเหตุการณ์ทุกอย่างที่ประสบในชีวิตว่าเป็นผลจากกรรมเก่าไม่ได้

แนวข้อสอบอัตนัยมี  2  ข้อ
1. อธิบาย "กายนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
2. อธิบาย "นิยาม 5"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น