วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1 ต่อ การบริหารจิตเจริญปัญญา

1. ความหมาย
    1.1 การบริหารจิต คือ การฝึกจิตให้มีสมาธิ (จิตที่มีสมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิต หรือภาวะที่จิตสงบนิ่ง แนบแน่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ไม่คิดวอกแวกในเรื่องอื่นใด
          การบริหารจิต เป็นการฝึกพัฒนาจิตให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ จิตที่สงบจะเกิดสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาตามมา (ปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามสภาพที่เป็นจริง เ่่ช่น รู้สึกถึงสาเหตุที่ทำให้ตนมีความทุกข์ เป็นต้น)
    1.2 การเจริญปัญญา หมายถึง การฝึกฝนอบรมหรือพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดปัญญา 3 ทาง ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟังและอ่าน ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา และปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฎิบัติ  ปัญญาทั้ง 3 ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีจิตเป็นสมาธิเสียก่อน

                                                                   การบริหารจิต
2. ประโยชน์ของการบริหารจิต
    การบริหารจิตด้วยการทำสมาธิ (หรือการฝึกสมถกรรมฐาน) มีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัิติ ดังนี้
    2.1 ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
           - ทำให้มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง และหายเครียด
           - ผ่อนคลายจากความรู้สึกวิตกกังวลในปัญญาที่เข้ามารุมเร้า
           - มีความกระตือรือร้นและมีประสิทธิภาพในการทำงาน และการเรียนหนังสือ
           - มีสติรู้ตัวตื่นอยู่ตลอดเวลา จึงตัดสินใจในปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วและถูกต้อง
           - มีความจำที่ดี ช่วยพัฒนาสมองให้มีคุณภาพ
    2.2 ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ
           - มีภาวะความเป็นผู้นำ มีึความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ ไม่โกรธง่าย หรือขี้หงุดหงิด ขี้ใจน้อย ไม่ขลาดหวาดกลัว
            - มีจิตใจสงบเยือกเย็น สุขุม สุภาพอ่อนโยน มีอารมณ์แจ่มใส มีเสน่ห์ดึงดูดใจ และได้รับความรักและความเป็นมิตรจากผู้ใกล้ิชิด
            - มีอุปนิสัยและท่าทีเป็นคนกระฉักกระเฉงว่องไว ไม่หดหู่หรือเซื่องซึม พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่คับขันได้
     2.3 ประโยชน์ทางด้านพระพุทธศาสนา
            ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถเจริญสมาธิได้ถึงระดับ ฌาณ หรือ "อัปปนาสมาธิ" ซึ่งเป็นระดับจิตเข้าสู่ความสงบอย่างแน่วแน่ เป็นสภาพของจิตที่ว่างจากอารมณ์ภายนอกทุกอย่าง ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบ โดยสามารถระงับ "นิวรณ์" ได้ (นิวรณ์ คือ กิเลสที่ปิดกั้นมิให้จิตพัฒนาให้สูงขึ้น) ซึ่งจะเป็นหนทางที่นำไปสู่การใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งในสัจธรรม และบรรลุเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
3. การบริหารจิตตามหลักสติปัำฎฐาน 4
    3.1 ความหมาย "สติปัฏฐาน" หมายถึง การตั้งสติเพื่อพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริง หรือการใ้้ช้สติกำกับใน 4 เรื่อง ดังนี้
        (1) การติดสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) คือการมีสติกำหนดรู้อย่างเท่าทันในเรื่องของร่างกายและอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ฯลฯ มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
             - อานาปานสติ  ใ้ช้สติกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
             - กำหนดอิริยาบถ  ใ้ช้สติกำหนดรู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่น หรือนอน สติจะคอยกำกับอยู่ตลอดเวลา ทำให้รู้ว่าร่่างกายกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในอาการอย่างไร
              - ปฏิกูลมนสิการ  ใ้ช้สติพิจารณาร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ให้เห็นความสกปรกมีสิ่งปฏิกูลเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมากมาย
              - นวสีวถิกา ใช้สติพิจารณาคนตายในสภาพต่าง ๆ 9 ระยะ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ศพคนตายใหม่ ๆ ไปจนถึงระยะที่ 9 ซากศพที่เหลือแต่กระดูกผุกร่อน โดยนึกถึงตนเองว่าไม่ช้าก็ต้องตกอยู่ในสภาพเ่ช่นนั้น
       (2) การติดสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนา) คือใช้สติพิจารณาเวทนา(ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกมีความสุข หรือความรู้สึกเฉย ๆ ) ตามสภาพที่เป็นจริงในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น ขณะกำลังนั่นสมาธิ เกิดมีเวทนาในความรู้สึกทุกข์ที่เกิดจากอาการเมื่อยขึ้นมา ก้ให้ตั้งสติกำหนดรู้ตามความรู้สึกที่เป็นจริงในขณะนั้นว่า "ปวดเมื่อยหนอ ๆ" จนกว่าความรู้สึกนั้นจะจางหายไป
        (3) การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) หมายถึงการใ้ช้สติกำหนดรู้สภาวะของจิตในขณะนั้นว่าอย่างไร เช่น มีความโกรธ มีความหลง มีราคะจากความคิดถึงคนรัก หรือมีจิตคิดฟุ้งซ่านหรือไม่อย่างไร ในขณะกำลังเจริญสมาธิให้สำรวจสภาพจิตของตนว่าตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้นหรือไม่ ถ้าเกิดมีจริงก็ให้มีสติรู้เท่าทัน โดยกำหนดรู้ว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" และนำจิตเข้าสู่สมาธิดังเดิม
       (4) การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธัมมานุปัสสนา) คือ การใ้ช้สติพิจารณาธรรมต่าง ๆ
            - อริยสัจ 4 ใ้ช้สติพิจารณาจนรู้แจ้งชัดเจนว่าคืออะไร เป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง
            - นิวรณ์ ใ้ช้สติพิจารณาจนรู้ชัดว่าตนเองมีนิวรณ์อยู่ในใจหรือไม่ เช่น มีกามฉันทะ (ความใคร่ในกาม) หรือพยาบาท (คิดปองร้าย) หรือความง่วงเหงาหาวนอนหรือไม่ ถ้ามีจะกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร
4. วิธีการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
     4.1 การนั่งกำหนด หรือนั่งสมาธิ  เป็นการปฏบัติในสติปัฏฐานข้อแรก คือ กายานุปัสสนา โดยผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติกำหนดรู้การกระทำของร่างกาย เช่น ขณะที่หลับตานั่งสมาธิให้ตั้งสติไว้ที่หน้าท้อง เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก ให้กำหนดรู้อาการพองและยุบของหน้าท้อง โดยภาวนาในใจไม่ต้องออกเสียงว่า "พองหนอ ยุบหนอ ๆ" เรื่อย ๆ ไป เพื่อให้จิตเกิดสมาธิ และเข้าใจสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติของชีวิต
     4.2 การเดินจงกรม เป็นการปฏิบัติในสติปัฏฐานในข้อกำหนดอิริยาบถเดิน ผู้ปฏิบัติจะตองมีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเดินหรือยกเท้าก้าวแต่ละก้าวไปทางใด ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้
           (1) กำจัดนิวรณ์(กิเลส) ในข้อ "ถีนมิทธะ" (ง่วงเหงาหาวนอน) กล่าวคือ เมื่อนั่งสมาธินานๆ จะเกิดอาการง่วงนอน ดังนั้น จึงต้องเดินจงกรมสลับกัน เพื่อให้เกิดวิริยะความเพียรและกำจัดนิวรณ์ข้อนี้ออกไป
            (2) เป็นผลดีตอระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย การเดินจงกรมจะ่ช่วยให้อาหารย่อยได้ง่าย และถ้าใ้ช้เวลาเดินนานนัับชั่วโมง จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของเท้าและร่างกายส่วนอื่น
5. ผลดีของการบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน
     การฝึกบริหารจิตตามหลักสติปัฎฐาน จะเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติและผลดีต่อสังคม ดังนั้
     5.1 ช่วยให้ความจำดี และเรียนหนังสือได้ผลดี  คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ มีสติรุ้ตัวตัวอยู่เสมอไม่คิดฟุ้งซ่าน และใจจดจ่อกับสิ่งที่กำลังอ่าน เขียน หรือฟัง จะส่งผลให้เกิดความจำดี เข้าใจเรื่องที่เรียนได้อย่างรวดเร็ว และทำให้มีผลการเรียนดี
     5.2 ่วยให้มีชีวิตที่สงบสุข คนที่ฝึกจิตจนเกิดสมาธิ ให้สติควบคุมคนเองให้อยู่ในกรอบ ศีลธรรมอันดีงาม จะมีความพอใจในสภาวะเป็นอยู่ของตนหรือพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ิคิดโลภอยากได้วัตถุกิเลสต่าง ๆ ตามแต่จิตจะนำพาไป ทำให้ชีวิตมีความสงบสุข
    5.3 ช่วยให้มีบุคลิกภาพดี มีความมั่นคง หนักแน่น และมีสุขภาพจิตดี ไม่หวั่นไหวไปกัีบสิ่งเร้า ภายนอกที่มากระทบ เมื่อไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาก็ใ้ช้สติควบคุมอารมณ์เศร้าโศกและความทุกข์ได้
    5.4 ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญ คนที่ผ่านการฝึกการบริหารจิตอย่างดีแล้วย่อมเป็นคนมีคุณภาพ มีจิตใจงดงาม และมีสุขภาพจิตดี ยิ่งถ้ามีจำนวนมากเพียงใดก็ย่อมจะเกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้จะ่ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุขความเจริญและก้าวหน้ายิ่งขึ้น
                                                       *****************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น